สำหรับวัสดุประเภทไวนิลที่เราใช้พิมพ์อิงค์เจ็ทกันอยู่นั้น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Flexible Face Vinyl หรือ Flex Face Vinyl แต่ชื่อในการผลิตคือ Polyvinyl Chloride หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า PVC นั่นเอง แต่คนไทยเราเรียกกันสั้นๆ แค่เพียง Vinyl (ไวนิล)
ไวนิลเป็นวัสดุพลาสติกโพลิเมอร์สังเคราะห์ประเภทหนึ่งในรูปแบบพลาสติก โดยที่ PVC ถูกผลิตมากเป็นอันดับ 3 รองจาก PE (Polyethelene / โพลีเอทิลีน) และ PP (Polypropelene / โพลีโพรไพลีน) พลาสติกประเภท PVC ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากมีความทนทานสูง ทนต่อทุกสภาวะอากาศ ต้นทุนต่ำ ราคาถูก และขั้นตอนในการผลิตที่ไม่ยุ่งยาก
สำหรับไวนิลที่จะใช้พิมพ์ได้นั้นจะต้องเป็นพลาสติก PVC ที่ถูกทำให้นุ่มและอ่อนตัว โดยในระหว่างการผลิต จะต้องมีการเติมสารประกอบจำพวก Plasticizers ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีที่ชื่อ Phthalates แล้วผลิตออกมาในรูปของแผ่นบางๆ ที่ความหนาแตกต่างกัน
จึงถือว่า ไวนิลพิมพ์อิงค์เจ็ท เป็นวัสดุแบบ Plasticized PVC ซึ่งจะแตกต่างจาก uPVC ที่ใช้ในการผลิตกรอบประตู กรอบหน้าต่าง และรางน้ำฝนไวนิล ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ที่เป็นพลาสติก PVC แบบแข็ง ที่ไม่ได้มีการเติมสาร Plasticizer เพื่อทำให้เนื้อพลาสติกอ่อนนุ่ม จึงเรียกว่า uPVC (unplasticized PVC)
ผลิตโดยการเทพลาสติก PVC ที่อยู่ในรูปของเหลว ลงบนผ้าตาข่าย ซึ่งกำหนดความหนาตามที่ต้องการ เวลาที่เนื้อพลาสติกแข็งตัว ก็จะหุ้มติดผ้าทั้งสองด้าน ทำให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน จะไม่มีปัญหาเรื่องการแยกตัวของแต่ละชั้น แต่ราคาก็จะสูงกว่าแบบอื่น
ผลิตโดยเคลือบพลาสติก PVC ลงบนผ้าตาข่าย ซึ่งจะประกบทั้ง 2 ด้าน โดยอาศัยความหนาของ PVC ให้ได้ความหนารวมกันตามที่ต้องการ ทำให้ขั้นตอนการผลิตง่ายกว่า ราคาจึงถูกกว่า
การผลิตโดยวิธี Laminate นั้น มี 2 ระบบคือ
1) Hot Laminate ที่อาศัยความร้อนในการละลายเนื้อ พลาสติก PVC ให้ยึดติดกับผ้าตาข่าย
2) Cold Laminate ที่อาศัยกาว ทำให้พลาสติก PVC ยึดติดกับผ้าตาข่าย ราคาจะถูกที่สุด
ส่วนประกอบ ในการผลิตไวนิลสำหรับใช้พิมพ์นั้น ประกอบด้วยส่วนประกอบอย่างน้อยที่แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ดังนี้
คุณสมบัติของชั้นต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นไวนิล ทำหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
1) | |
2) | |
3) |
แต่นอกเหนือจากไวนิลดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีไวนิลอื่นๆ อีกหลายแบบ อย่างเช่น
• | |
• | |
• |
ในการผลิตไวนิลนั้น จะแตกต่างกันในเรื่อง ความหนา ซึ่งไวนิลยิ่งหนา ก็จะยิ่งทนและยิ่งแข็งแรง เนื่องจากความหนาที่แตกต่างกัน น้ำหนักก็ย่อมมากน้อยแตกต่างกันไปด้วย ซี่งมีปัจจัยในการเลือกซื้อไวนิล ดังนี้
น้ำหนักของ ไวนิล หน่วยที่ใช้วัดน้ำหนัก คือ กรัมต่อตารางเมตร ( gsm ) หรือ ออนซ์ ( Oz. )
ไวนิลที่ขายกันอยู่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 280-680 g/m2 และ 8-20 Oz. ฉะนั้น ไวนิลยิ่งหนัก ก็จะยิ่งหนาขึ้นด้วย
กรัม / ตารางเมตร ( |
320 | 340 | 370 | 400 | 440 | 470 | 510 | 680 |
ออนซ์ ( |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 20 |
ความหนาของ ไวนิล หน่วยที่ใช้วัดความหนา คือ มิลลิเมตร ( mm )
ไวนิลที่ขายกันอยู่จะมีความหนาตั้งแต่ 0.28-0.48 mm ฉะนั้น ไวนิลยิ่งหนา ก็จะยิ่งทนทานขึ้นด้วย
เนื้อผ้าของ ไวนิล
ไวนิลจะต้องมีชั้นของเนื้อผ้าอยู่ตรงกลางระหว่างพีวีซีทั้ง 2 ด้าน ซึ่งจะวัดด้วยจำนวนของเกลียวเส้นที่มาถักกันเป็นตาราง มีตั้งแต่ 9x9 ถึง 18x12 ต่อ 1 ตารางนิ้ว ฉะนั้น ไวนิลที่มีจำนวนของเส้นด้ายยิ่งเยอะ ก็จะยิ่งแข็งแรงขึ้น
เส้นใยของ ไวนิล หน่วยที่ใช้วัดเส้นใย คือ ความหนาของเส้นด้าย ( D / Denier )
เนื้อผ้าในไวนิลจะมีเกลียวเส้นที่มาถักกันเป็นตาราง ในแต่ละเกลียวเส้นก็จะมีเส้นด้ายหลายเส้นๆ มาถักกันรวมกัน ในด้ายแต่ละเส้นนั้น ก็จะมีความหนาแน่นของเส้นใยตั้งแต่ 200D x 300D ถึง 1000D x 1000D ต่อ 1 ตารางนิ้ว ดังนั้น ไวนิลที่ความหนาของเส้นใยยิ่งมาก เกลียวเส้นก็จะยิ่งแน่น ก็จะยิ่งแข็งแรงขึ้นด้วย
มาตรฐานการผลิตของ ไวนิล
ไวนิลที่ผลิตโดยโรงงานที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดีกว่า ย่อมจะต้องดีกว่า สำหรับไวนิลที่ราคาต่ำมากๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่า มีการลดขั้นตอนในการผลิตบางอย่างออก เช่น การทำลายไฟฟ้าสถิตย์ หรือ การปรับพื้นผิวในขั้นสุดท้าย (Corona Treatment) หรือ การหมั่นดูแลรักษาทำความสะอาดเครื่องจักรในการผลิต