สำหรับวัสดุสติกเกอร์ที่เราใช้พิมพ์อิงค์เจ็ทกันอยู่นั้น ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Self-Adhesive Vinyl หรือ SAV แต่จริงๆ แล้วก็คือ PVC (Polyvinyl Chloride / โพลีไวนิลคลอไรด์) ที่มีการเคลือบชั้นกาวลงไปด้านหลังของ PVC นั่นเอง
เหตุผลที่สติกเกอร์ส่วนใหญ่ใช้วัสดุพลาสติกประเภท PVC ก็เพราะว่า PVC นั้นต้นทุนต่ำ ทนได้ทุกสภาวะอากาศ ทนแดดทนฝน จึงเหมาะสำหรับการใช้งานภายนอก นอกจากสติกเกอร์ที่เป็น PVC แล้ว ยังมีการนำวัสดุอื่นๆ มาผลิตเป็นสติกเกอร์พิมพ์อิงค์เจ็ทอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น PP (Polypropelene / โพลีโพรไพลีน), PET (Polyester / โพลีเอสเตอร์), กระดาษ, วอลล์เปเปอร์, ผ้า และ ฟิล์ม
สำหรับ PVC ที่จะนำมาใช้ผลิตเป็นผิวหน้าของสติกเกอร์นั้น จำเป็นจะต้องทำให้นุ่มและอ่อนตัวก่อน โดยการเติมสาร Plasticizers เช่นเดียวกับวัสดุประเภทไวนิล ซึ่งจะแยกประเภทของ Plasticizers ออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
PVC ที่ไม่มีการเติม Plasticizers จะเป็นพลาสติกแข็ง หรือที่เรียกว่า Rigid
Monomeric Plasticizer จะมีโครงสร้างของโมเลกุลที่เล็กและไม่ซับซ้อน เป็นโมเลกุลเดี่ยว ยึดติดกับโมเลกุลของพลาสติก กลายเป็นกลุ่มโมเลกุลเล็กๆ ซึ่งจะยึดเกาะกันได้ไม่นานนัก ทำให้อายุการใช้งานสั้น และยืดตัวได้น้อยกว่า
Polymeric Plasticizer จะมีโครงสร้างของโมเลกุลที่ซับซ้อนกว่า ยึดติดกับโมเลกุลของพลาสติกเป็นแถวยาวเหมือนโซ่ เป็นการเรียงตัวเป็นแบบแผนซ้ำๆ กันของ monomers ซึ่งจะยึดเกาะกันได้ดีกว่า ทำให้อายุการใช้งานนานกว่า และยืดตัวได้มากกว่า
เราสามารถแบ่งกระบวนการผลิตสติกเกอร์ได้ 2 ประเภท คือ
Cast Films ถือว่าเป็นสติกเกอร์เกรดคุณภาพสูง Premium ซึ่งปกติ ฟิล์มจะมีความหนาไม่เกิน 50 ไมครอน จึงสามารถยืดตัวและเข้าโค้งได้ดี
กระบวนการผลิต Cast Films เริ่มจากผสมส่วนประกอบต่างๆ แล้วคนให้เข้ากันตามความเร็วและเวลาที่กำหนดในถังผสม ส่วนผสมเหลวๆ นี้เรียกว่า Organosol แล้วนำไปเท (Cast) ลงบนแผ่น Casting Sheet ที่เคลื่อนอยู่บนสายพาน วิ่งผ่านเตาอบความร้อนที่ 160 ํC ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมที่เป็น Solvent ระเหยออกไปเหลือแค่ฟิล์มบางๆ แล้วจึงนำไปเคลือบกาวให้เป็นสติกเกอร์
รูปแสดงกระบวนการผลิตสติกเกอร์แบบ Cast | ที่มา : Thai Nam Plastic (Public) Co., Ltd.
คุณสมบัติของสติกเกอร์แบบ Cast
1. | วัตถุดิบในการผลิตดีกว่า ราคาแพงกว่า อายุการใช้งาน 5-10 ปี |
2. | ฟิล์มบาง อัตราการหดตัวต่ำ ยืดได้ดีกว่า เหมาะกับพื้นที่โค้งลอน |
3. | ขั้นตอนการผลิตยุ่งยาก แต่ไม่จำเป็นต้องผลิตครั้งละมากๆ |
Calendered Films ถือว่าเป็นสติกเกอร์เกรดประหยัด Economy ซึ่งปกติฟิล์มจะมีความหนาตั้งแต่ 75 ไมครอนขึ้นไป (ไม่รวมชั้นกาว)
กระบวนการผลิต Calendered Films เริ่มจากส่วนผสมเช่นเดียวกับ Cast ต่างกันตรงที่จะไม่มีการใส่สาร Solvent แล้วเพิ่มความร้อนจน หลอมเป็นของเหลวข้นๆ แล้วนำไปวิ่งผ่านแกนเหล็กหลายๆ อัน เพื่อแผ่ให้ได้ตามขนาดและยืดให้ได้ความบางตามที่ต้องการ (เนื่องจากการยืดและใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต จึงทำให้ฟิล์มจะมีอัตราการหดตัวสูงกว่าแบบ Cast อายุการใช้งานจึงสั้นกว่า) แล้วจึงนำไปเคลือบกาว
รูปแสดงกระบวนการผลิตสติกเกอร์แบบ Calendered | ที่มา : Thai Nam Plastic (Public) Co., Ltd.
คุณสมบัติของสติกเกอร์แบบ Calendered
1. | จำเป็นต้องผลิตจำนวนมาก ราคาถูกกว่า อายุการใช้งาน 2-5 ปี |
2. | ฟิล์มหนากว่า จึงติดตั้งง่ายกว่า ทนรอยขูดขีดได้ดีกว่า |
3. | เนื่องจากต้องรีดผ่านแกนจำนวนมาก จึงต้องผลิตครั้งละมากๆ |
หน่วยที่ใช้วัดความหนา 25 micron = 1 mil = 1/1000 นิ้ว
ส่วนประกอบ ในการผลิตสติกเกอร์สำหรับใช้พิมพ์นั้น ประกอบด้วยส่วนประกอบอย่างน้อยที่แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้
วัสดุรองหลัง ( Backing / Liner ) สติกเกอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะใช้วัสดุรองหลังหลักๆ อยู่ 3 ประเภท ดังนี้
1. | |
2. | |
3. |
ส่วนผสมอื่นๆ ในการผลิตผิวหน้าของสติกเกอร์ นอกจากการเติม Plasticizers เพื่อให้ PVC Polymer อ่อนนุ่มแล้ว ยังจะต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น
• | Pigments เป็นสีที่เติมเพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการ |
• | UV Absorbers ช่วยเพิ่มการป้องกันรังสียูวี |
• | Heat Stabilizers ช่วยลดการแยกตัวของโพลีเมอร์ และการเปลี่ยนสี ในระหว่างขั้นตอนการผลิต |
• | Fillers ช่วยลดช่องอากาศระหว่างโมเลกุล |
• | Processing Aids ช่วยให้โพลีเมอร์ยืดตัวได้ดีขึ้น |
วิธีเลือกซื้อสติกเกอร์
สำหรับสติกเกอร์แต่ละแบรนด์ คุณภาพงานพิมพ์จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ที่เราใช้อยู่ ราคาของสติกเกอร์ประเภทเดียวกันนั้น จะแตกต่างกันไม่เกิน ±20% แต่ปัญหาเกี่ยวกับการพิมพ์สติกเกอร์นั้น มักจะเกิดจากการเลือกใช้สติกเกอร์ผิดประเภทมากกว่า ซี่งมีปัจจัยในการเลือกใช้สติกเกอร์ให้เหมาะสมกับประเภทงาน ดังนี้
ประเภทของพื้นผิวที่จะใช้งานกับ สติกเกอร์
• | พื้นผิวโค้งเว้า เป็นลอน เป็นร่อง มีหัวรีเวท ควรจะใช้สติกเกอร์ Cast ซึ่งจะมีความหนา 50-55 ไมครอน ( ฿฿฿ ) |
• | พื้นผิวโค้งเว้าเล็กน้อย ควรจะใช้สติกเกอร์ Polymeric Calendered ซึ่งจะมีความหนา 60-80 ไมครอน ( ฿฿ ) |
• | พื้นผิวเรียบ ไม่โค้งเว้า ควรจะใช้สติกเกอร์ Monomeric Calendered ซึ่งจะมีความหนา 80-100 ไมครอน ( ฿ ) |
อายุการใช้งานของ สติกเกอร์ อายุการใช้งานจริงขึ้นอยู่กับหมึกพิมพ์ที่เราใช้และสติกเกอร์บางประเภทจำเป็นจะต้องมีการเคลือบฟิล์ม
• | สติกเกอร์ Cast (ไม่ได้พิมพ์และไม่ได้เคลือบฟิล์ม) จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ( ฿฿฿ ) |
• | สติกเกอร์ Polymeric Calendered (ไม่ได้พิมพ์และไม่ได้เคลือบฟิล์ม) จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี ( ฿฿ ) |
• | สติกเกอร์ Monomeric Calendered (ไม่ได้พิมพ์และไม่ได้เคลือบฟิล์ม) จะมีอายุการใช้งานประมาณ 1-3 ปี ( ฿ ) |
กาวของ สติกเกอร์ กาวที่ใช้ในการผลิตสติกเกอร์ส่วนใหญ่เป็นกาวอะครีลิค (Acrylic) ซึ่งจะใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ Solvent-based และ Emulsion-based (Water-based) ซึ่งคุณภาพจะไม่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต และจะระเหยออกไปหมดระหว่างผลิต
• | |
• | |
• | |
• | |
• | |
• | |
• | |
• | |
• |