Stacks Image 22691

Image courtesy of www.sawgrassink.com

งานพิมพ์อิงค์เจ็ทบนผ้า

Soft Signage เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในธุรกิจงานพิมพ์อิงค์เจ็ท สำหรับใช้เรียก งานพิมพ์ลงบนวัสดุที่เป็นผ้าด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งการพิมพ์ลงบนผ้าจะถูกจำกัดอยู่ที่หมึกพิมพ์บางประเภทเท่านั้น และงานพิมพ์อิงค์เจ็ทบนผ้าส่วนใหญ่ในตลาดจะเป็นการพิมพ์ลงบนผ้าเส้นใยสังเคราะห์จำพวกผ้าโพลีเอสเตอร์ หรือบางครั้งอาจจะเป็นผ้าเส้นใยธรรมชาติจำพวกผ้าคอตตอนและผ้าคอตตอนผสมโพลีเอสเตอร์ โดยที่ Soft Signage จะถูกนำไปใช้งานหลากหลายประเภท รวมถึง งานเอ็กซิบิชั่น งานตกแต่งบูธ งานกล่องไฟ งานตกแต่งร้านค้า นำไปใช้เป็นธงและป้ายแขวน ในสมัยก่อน เราจะใช้วิธีพิมพ์หมึก Sublimation ลงบนกระดาษ Transfer แล้วนำไปรีดด้วยความร้อนลงบนผ้า แต่ด้วยความต้องการในการนำไปใช้งานและเครื่องพิมพ์ที่มีหลากหลายขึ้น จึงทำให้หมึกพิมพ์ถูกพัฒนาขึ้นมาอีกหลายประเภท รวมถึง การพิมพ์หมึก Sublimation ลงบนผ้าโดยตรง (หรือที่เรียกว่า Disperse Ink), หมึกพิมพ์ UV (ต้องเป็น UV Flexible Ink) และ หมึก Latex

การพิมพ์งานบนผ้า โดยเฉพาะสำหรับการนำไปใช้งาน Soft Signage เปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการพิมพ์งานและร้านป้าย สามารถขยายตลาดและฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นได้ จากการพัฒนาของหมึกrพิมพ์อิงค์เจ็ทในช่วง 2–3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหมึก LED UV และ Latex ช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องประเภทของวัสดุที่เป็นผ้าให้สามารถนำมาใช้พิมพ์ได้กว้างขึ้น ข้อดีของการพิมพ์ผ้าด้วยระบบดิจิตอล รวมถึงการใช้หมึกพิมพืที่เป้นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุพิมพ์มีน้ำหนักเบา การติดตั้งงานง่ายขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งงาน และค่าแรงในการติดตั้งที่ถูกลง

ในธุรกิจที่ต่อเนื่องกัน ผู้ให้บริการพิมพ์งานก็สามารถขยายงานพิมพ์บนผ้าไปใช้ในงานตกแต่งร้านค้าและตกแต่งบ้าน ซึ่งจะเห็นได้ว่า ร้านค้าตามศูนย์การค้าได้นำงานพิมพ์บนผ้าไปใช้แทนงานกล่องไฟกันมากขึ้น รวมถึง การนำไปใช้ตกแต่งผนังโดยวัสดุจะดูดีมีราคากว่า ใช้เป็นม่านที่มีการพิมพ์รูปภาพสินค้า ใช้เป็นฉากหลังสำหรับใช้ถ่ายรูปเพื่อลดแสงสะท้อน ใช้ทำเป็นร่มที่มีการพิมพ์โลโก้ ใช้เป็นผ้าปูโต๊ะที่พิมพ์ลวดลายหรือโลโก้ และใช้เป็นธงโฆษณา ซึ่งการนำไปใช้ในส่วนอื่นๆ ที่หลากหลายขึ้นนี้จะช่วยเสริมภาพพจน์ของแบรนด์ได้ดีขึ้นและเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

แนวโน้มของการพิมพ์งาน Soft Signage

ตลาดงานพิมพ์ Soft Signage กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนามีอยู่ด้วยกัน 3 ปัจจัย ได้แก่

1)
เครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์งานได้กว้างกว่า 3 เมตร

เนื่องจากตลาดมีความต้องการงานพิมพ์บนผ้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ในปี 2016 ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์หลายๆ รายเริ่มเปิดตัวเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ได้กว้างกว่า 3 เมตร ซึ่งเจาะกลุ่มงานพิมพ์ Soft Signage เป็นหลัก อย่างเช่น

Stacks Image 22552

Durst Rhotex 322 หมึก Water-based Dispersion สำหรับวัสดุแบบม้วน หน้ากว้าง 3.2 เมตร

Stacks Image 22556

d.gen TELEIOS GRANDE / H6 หน้ากว้าง 3.3 เมตร หมึก Pigment พิมพ์โดยตรงลงบนวัสดุ

Stacks Image 22560

Mimaki UJV55-320 หมึก LED UV แบบ Flexible หน้ากว้าง 3.2 เมตร สำหรับงานป้ายและกล่องไฟโดยเฉพาะ

การที่เราสามารถพิมพ์ได้บนวัสดุหน้ากว้างได้ จะช่วยให้ได้งานพิมพ์ที่ไม่มีรอยต่อสำหรับงานพิมพ์ขนาดใหญ่ ลดรอยต่อระหว่างงานพิมพ์แต่ละชิ้นให้น้อยลงในกรณีที่งานใหญ่กว่าหน้ากว้างของวัสดุช่วยให้งานพิมพ์สวยขึ้น และยังลดเวลาในการเย็บขอบงานอีกด้วย

2)
การเปลี่ยนแปลงของการพิมพ์หมึก Sublimation เป็นการพิมพ์ลงบนผ้าโดยตรง

Dye-sublimation เป็นเทคโนโลยีหลักที่ในการพิมพ์บนวัสดุที่เป็นผ้าในปัจจุบัน ซึ่งใช้วิธีพิมพ์หมึกลงบนกระดาษ Transfer ก่อน แล้วค่อยนำไปประกบกับผ้า วิ่งผ่านแรงกดและความร้อนสูงด้วยเครื่องรีดความร้อน (Heat transfer machine) เพื่อที่จะให้หมึกพิมพ์ถูก Transfer ลงไปยึดเกาะกับเส้นใยผ้าบนวัสดุ แต่วิธีนี้ต้องเป็นการทำงานแบบ 2 ขั้นตอน จึงเสียเวลาและสิ้นเปลืองวัสดุมากกว่า ในระยะ 4–5 ปีที่ผ่านมา จึงมีการพัฒนาให้สามารถพิมพ์หมึก Sublimation ลงบนวัสดุได้โดยตรง ซึ่งจะเรียกว่า Direct-to-fabric โดยมีผู้ผลิตเครื่องพิมพ์หลักๆ อย่างเช่น Mutoh, Miamki และ Durst แต่อย่างไรก็ตาม วัสดุที่ถูกพิมพ์ก็ยังต้องนำไปผ่านเครื่องรีดด้วยความร้อนอยู่ดี เพื่อที่จะทำให้หมึกเกิดการซับลิเมท Sublimate (การระเหิด – กระบวนการที่หมึก เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นไอ โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว) กลายเป็นไอ แล้วเนื้อสีจะไปยึดเกาะกับเส้นใยของเนื้อผ้า ทำให้คงทนต่อการนำไปซักน้ำ ทนฝน และทนต่อการซีดจางจากแดด

การพิมพ์หมึกโดยตรงลงบนผ้า ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับงานพิมพ์ Soft Signage เพราะว่าหมึกพิมพ์จะซึมลงไปในวัสดุพิมพ์ได้ดีกว่า ทำให้ได้สีของงานพิมพ์ที่สดขึ้น และยังทะลุไปอีกด้านของผ้าด้วย จึงเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องใช้ดูจากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง อย่างเช่น งานธง หรืองานกล่องไฟ เพราะการที่หมึกซึมลงไปในผ้าจะช่วยลดปัญหาเวลาที่ผ้าถูกยืดออก ทำให้ยังเห็นสีที่พิมพ์อยู่

Stacks Image 22577

Image courtesy of www.imagegroupuk.com

3)
การเข้ามาในตลาดของเครื่องพิมพ์ที่ใช้หมึก UV และ Latex

ถึงแม้ว่า Dye-sublimation จะเป็นเทคโนโลยีหลักในการพิมพ์ผ้า อายุในการใช้งานคงทนยาวนาน แต่ขั้นตอนก็ยังยุ่งยากซับซ้อนอยู่ อีกทั้งต้องลงทุนเครื่องจักรในการรีดความร้อนเพิ่ม ต้องใช้พื้นที่ในการทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้าต้องการใช้งานระยะสั้น ผู้รับพิมพ์งานจึงพยายามที่จะใช้เครื่องพิมพ์ที่มีอยู่แล้วเพื่อพิมพ์งาน Soft Signage การพัฒนาอย่างรวดเร็วของหมึกพิมพ์และการเคลือบผิวของวัสดุพิมพ์ ก็ช่วยเปิดโอกาสให้การพิมพ์ด้วยหมึก UV และ Latex นั้นง่ายขึ้น ทั้งในเรื่องความคงทน, การป้องกันสีซีด, คุณภาพงานพิมพ์, การใช้เครื่องพิมพ์ตัวเดียวที่พิมพ์งานได้หลายประเภท และการแข่งขันในเรื่องราคาของเครื่องพิมพ์ที่ถูกลง ก็ช่วยให้ร้านรับพิมพ์งานเล็กๆ สามารถลงทุนเครื่องพิมพ์ได้ง่ายขึ้น

เครื่องพิมพ์ HP Latex ที่ราคาเริ่มต้นไม่กี่แสนบาท ถือเป็นเครื่องพิมพ์ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นในธุรกิจการพิมพ์ผ้า Soft Signage เพราะว่าไม่จำเป็นต้องนำไปผ่านเครื่องรีดความร้อนอีก และหมึกพิมพ์ก็ยังทนน้ำ ทนต่อการซีดจางจากแดดได้ดีอีกด้วย ถึงแม้ว่าสีของงานที่พิมพ์ออกมาจะไม่สดเท่ากับสีที่พิมพ์จากหมึก Dye-sublimation ก็ตาม

สำหรับการพิมพ์ด้วยหมึก UV นั้น หมึก UV จะไปยึดเกาะอยู่บนผิวของวัสดุที่พิมพ์และถูกทำให้แห้งโดยทันทีด้วย UV เราจึงสามารถพิมพ์ลงบนวัสดุได้แทบทุกประเภท จึงได้สีที่สดกว่าหมึกประเภทอื่น แต่สำหรับการพิมพ์ลงบนผ้า เมื่อเทียบกับการพิมพ์ด้วยหมึก Latex และ Sublimation เนื่องจากหมึก UV จะเกาะอยู่แค่บนผิวของวัสดุ เวลาที่ผ้าถูกยืดออกเพื่อขึงให้ตึง หมึก UV อาจจะเกิดการแตกหรือแยกตัวได้ แต่การพัฒนาของหมึก UV ในปัจจุบันก็ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะหมึก UV ที่เป็นหมึกแบบ Flexible ซึ่งสามารถยืดตัวได้ถึง 400% จากขนาดของหยกหมึก จึงทำให้ปัญหาที่หมึกแตกหมดไป

ตลาดของงานพิมพ์ Soft Signage จะยังคงเติบโตต่อไป มีการนำไปใช้งานหลากหลายรูปแบบ รวมถึง ใช้เป็นป้ายผ้า ธงญี่ปุ่น ธงขนนก งานโฆษณา ณ จุดขาย งานกล่องไฟ งานตกแต่งร้านค้า งานแฟชั่น รวมถึงงาน SEG (Silicone Edge Graphics) และยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งเทคโนโลยีในเรื่องเครื่องพิมพ์ วัสดุพิมพ์ และหมึกพิมพ์ โดยมีหมึก Latex, UV และ Dye-sublimation เป็นเทคโนโลยีหลัก เครื่องพิมพ์จะมีการแข่งขันกันมากขึ้น ราคาเครื่องพิมพ์จะถูกลง วัสดุพิมพ์งานก็จะถูกลง ความต้องการในการใช้งานจะยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต  

ที่มา: บทความ "Soft Signage Market Trends" จาก www.printingnews.com

พฤศจิกายน 2016
2019 | ThaiSignmaker |
2,074